เทคนิคการแพทย์ชุมชน ในบริบทของสงขลานครินทร์ (Episode 1)
เทคนิคการแพทย์ชุมชน ในบริบทของสงขลานครินทร์ (Episode 1)
ยุทธนา เพ็งแจ่ม, จิดาภา เซคเคย์, ธีรกมล เพ็งสกุล, ดารินต์ณัฏ บัวทอง, ณัฐดา ต้นวงศ์,
ธเนตร ประจันตะเสน, ณัฏฐาภรณ์ ณ นคร, ปิยะวุฒิ แสวงผล, สุธิชา จันทะ, พัชราวดี พระยาลอ
อาจารย์ประจำคณะเทคนิคการแพทย์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) มีวิสัยทัศน์คือ เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับภูมิภาคเอเชีย ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต บริการวิชาการ และทำนุบำรุงวัฒนธรรม โดยมีการวิจัยเป็นฐาน ม.อ. ได้ตั้งเป้าหมายในการบริหารจัดการภายใต้นโยบาย "ม.อ. เพื่อชุมชนแห่งการเรียนรู้" โดยมุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชนขึ้น และกลายเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) อย่างแท้จริง
ค่านิยมของมหาวิทยาลัย
Explore: ค้นหาและเรียนรู้ความหลากหลายของพื้นที่ ผู้คนและวัฒนธรรม
Commit: มุ่งมั่นสร้างความสำเร็จ เพื่อตนเองและสังคม
Discover: ค้นพบศักยภาพตัวเอง และนำศักยภาพนั้นทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม
โดยมีวัตถุประสงค์ตามวิสัยทัศน์และนโยบาย ม.อ. เพื่อชุมชนแห่งการเรียนรู้คือ
- เพื่อหา “แนวทางในการพัฒนาชุมชนให้กลายเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้” ภายใต้ความร่วมมือระหว่างชุมชน และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- เสริมสร้างการเกิด "พันธมิตร" ระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กับชุมชน/สังคมภายนอก
- เสริมสร้าง "เครือข่ายความร่วมมือเพื่อสังคม" กับหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งศิษย์เก่า
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานของ ม.อ.
- มอบหมายหน่วยงานหรือแต่งตั้งคณะทำงาน (ทีมหลัก) พิจารณาชุมชนเป้าหมาย โดยรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่ในฐานข้อมูล และ/หรือทำการลงชุมชนเพื่อพูดคุยถึงความต้องการ รวบรวมข้อมูลชุมชน (ระยะเวลา 3 เดือน)
- ทีมหลักนำข้อมูลและหัวข้อความต้องการของชุมชนมาพูดคุยภายในกลุ่ม
- จัดตั้งกลุ่มผู้ทำงานย่อยประกอบด้วย
- กลุ่มคิดเนื้อหา
- กลุ่มความเชี่ยวชาญสร้างให้เกิดการเรียนรู้
- กลุ่มความเชี่ยวชาญในการทำ KM/Sharing
- การทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มย่อยเพื่อสร้างแนวทางและรูปแบบในการลงไปให้ความรู้ การทำ KM และกระตุ้นให้เกิด Sharing ในชุมชน (ระยะเวลา 3 เดือน)
- นำแนวทางที่ได้ไปปฏิบัติในชุมชนโดยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรืออาสาสมัครต่าง ๆ รวมทั้งนักศึกษาจากหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยเข้าร่วมกิจกรรม (ระยะเวลา 6-12 เดือน)
- แสวงหาเครือข่ายในการทำกิจกรรมจากหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งศิษย์เก่า
- ติดตามประเมินผลเป็นระยะ ๆ รวมถึงปรับเปลี่ยนแผนต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เพื่อให้ชุมชนเป็น Learning Organization มากขึ้นและยั่งยืน (ระยะเวลา 6-12 เดือน)
- ขยายผลไปยังชุมชนอื่น ๆ ในแต่ละวิทยาเขต เพื่อสร้างเครือข่ายของ Learning Organization ในภาคใต้
วิชาเทคนิคการแพทย์ชุมชน คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สภาเทคนิคการแพทย์ ได้กำหนดให้หลักสูตรเทคนิคการแพทย์ทุกสถาบันผลิตนักเทคนิคการแพทย์ ต้องมีการเรียนการสอนวิชาเทคนิคการแพทย์ชุมชนขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาเทคนิคการแพทย์ได้เรียนรู้บทบาทของเทคนิคการแพทย์ในการบริการสุขภาพในชุมชน ออกสำรวจสุขอนามัยและสภาพแวดล้อม และวางแผนให้บริการทางเทคนิคการแพทย์แก่ชุมชน พัฒนาชุมชนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามพันธะกิจของมหาวิทยาลัย เกิดความร่วมมือระหว่างชุมชน โดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จและเป้าหมายคือ
- นักศึกษาทำแผนที่เดินดินได้
- นักศึกษาสามารถนำเสนอแผนการจัดทำกิจกรรมการตรวจสุขภาพของคนในชุมชนได้
- นักศึกษาได้ออกบริการสุขภาพแก่ประชาชนในชุมชนเป้าหมาย
- นักศึกษาสามารถสรุปผลการออกบริการสุขภาพเพื่อวางแผนการออกชุมชนในปีถัดไป
- ประเมินผลการศึกษาโดยคณาจารย์
แผนการดำเนินการ
- แนะนำบทนำเกี่ยวกับรายวิชา ชี้แจงเกี่ยวกับการเรียนการสอน การพัฒนาชุมชนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ : นโยบายมหาวิทยาลัย กระบวนการเรียนการสอนแบบ transformative education และตัวอย่างการลงชุมชนของนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยต่างๆ โดยอาจารย์ประสานงาน
- บรรยายพื้นฐานความรู้ และวัตถุประสงค์ของเวชศาสตร์ชุมชน/เทคนิคการออกชุมชนความหมายของชุมชน และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม, วิธีการศึกษาวิถีชุมชนด้วยเครื่องมือชนิดต่างๆ และการประเมินผลข้อมูลวิถีชุมชน
- บรรยายบทบาทของนักเทคนิคการแพทย์ต่อปัญหาสุขภาพของชุมชน,ระบบสุขภาพและกระบวนการจัดการสุขภาพในชุมชน
- ออกแบบแบบสอบถามลงพื้นที่เดินดิน โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วย โดยการใช้ Application ที่ชื่อ App "Epicollect 5" ตัวอย่างการทำแผนที่เดินดิน
- นักศึกษาฝึกปฎิบัติการทำแบบสอบถามลงพื้นที่เดินดิน โดยใช้ App "Epicollect 5"
- ลงพื้นที่ครั้งที่ 1 ทำแผนที่เดินดิน
- ลงพื้นที่ครั้งที่ 2 กิจกรรมการตรวจคัดกรองเบาหวาน ไขมัน โรคไต (strip test) และให้ความรู้สุขภาพแก่ชุมชุน
- กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตัวเอง (Active learning) “เทคนิคการแพทย์กับการพัฒนาสุขภาพของชุมชน” และการวางแผนออกชุมชนในอนาคต
- นำเสนอสรุปโครงการ และนำเสนอแผนการออกชุมชนในอนาคต
ผลที่ได้รับจาการเรียนรายวิชานี้
- นักศึกษาเข้าใจและสามารถปฎิบัติงานได้ตามบทบาทของเทคนิคการแพทย์
- นักศึกษาสามารถออกพื้นที่ให้บริการตรวจสุขภาพแก่ชุมชน โดยปฏิบัติตามขั้นตอนที่เหมาะสม ตามมาตรฐานวิชาชีพเทคนิคการแพทย์
- พัฒนาชุมชนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามพันธะกิจของมหาวิทยาลัย เกิดความร่วมมือกันระหว่างชุมชน
- นักศึกษาได้เห็นและตระหนักถึงบทบาทของนักเทคนิคการแพทย์ต่อชุมชน ที่มิใช่ปฏิบัติหน้าที่ในห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลเท่านั้น
ตัวอย่างการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการทำแผนที่เดินดิน
นักศึกษาจะถูกแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มตามแผนที่ (กลุ่ม A, B, C, D, และ E ตามลำดับ) แล้วเดินสำรวจชุมชนโดยใช้ อสม. เป็นผู้นำ ทำการสำรวจสุขภาพโดยใช้แบบสอบถามจากนั้นนำมาทำแผนที่เดินดินดังตัวอย่างกลุ่ม B และ E ข้างล่าง ในการนี้ นักศึกษาจะได้เรียนรู้ที่จะพูดคุย ปฏิสัมพันธ์กับชาวบ้านในชุมชน รวมถึงได้เข้าใจถึงปัญหาของชุมชนในพื้นที่ท้องถิ่นที่เราอยู่อาศัย ผู้คนรวมถึงวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
กลุ่ม B
กลุ่ม E
ตัวอย่างภาพกิจกรรมในการตรวจสุขภาพแก่ชุมชน
นักศึกษาจะมีการวางแผน แบ่งเป็นฝ่ายต่างๆ เพื่อทำหน้าที่ในวันที่ออกบริการตรวจสุขภาพให้กับชาวบ้านในชุมชน ในการนี้นักศึกษาจะได้เรียนรู้ที่จะวางแผน และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งทักษะเหล่านี้อาจจะหาไม่ได้จากการเรียนในห้องเรียน
ตัวอย่างใบแจ้งผลการตรวจสุขภาพ
นักศึกษาจะเป็นผู้ออกแบบใบแจ้งผลการตรวจสุขภาพ เพื่อให้สามารถรายงานผลการทดสอบให้กับชาวบ้านได้อย่างครอบคลุมและเกิดประโยชน์สูงสุด ในการนี้นักศึกษาจะได้นำความรู้พื้นฐานทางเทคนิคการแพทย์ที่เรียนรู้ในห้องเรียนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง เป็นการนำศักยภาพที่มีอยู่ในตนเองออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อส่วนรวม
เอกสารอ้างอิง
- B.S. Medical Technology: Overall Program Description. [Internet]. USA: The College of Brockport [cited 2015 Dec]. Available from: http://www.brockport.edu/biology/undergraduate/medtechmajor.html
- Medical Laboratory Science Program overview [Internet]. USA: Department of Laboratory Medicine, University of Washington. [cited 2015 Dec]. Available from: http://depts.washington.edu/labweb/Education/MedTech/index.htm
- Singapore Polytechnic [Internet]. Singapore: Diploma in Biomedical Science (DBS) JAE Code: S98. [cited 2015 Dec 12]. Available from: http://www.sp.edu.sg/wps/portal/vp-spws/schcls.cse.ftdip.biomedicalscience
- Temasek Polytechnic [Internet]. Singapore: Diploma in Biomedical Science (T27). [cited 2015 Dec 12]. Available from: http://www.tp.edu.sg/schools/asc/biomedical-science-t27#tab1
- European Association for Professions in Biomedical Science. Policy on education for Biomedical Science [document on the internet]. [cited 2015 Dec] Available from: http://epbs.net/images/pdf/publications/epbs_policy_papers/epbs_policy_statment_education_09.pdf
- Bachelor of Health Science - BHSC –2016[Internet].Australia: Charls Darwin University [cited 2015 Dec].Available from:http://course-finder.cdu.edu.au/bachelor-medical-laboratory-science-bmlsc-2016
- Bachelor of Medical Laboratory Science [Internet]. Australia: Queensland University of Technology [cited 2015 Dec]. Available from: https://www.qut.edu.au/study/courses/bachelor-of-medical-laboratory-science
- Prince Mahidol Award Conference 2014. Transformative learning for the Health Equity. Bangkok: Health Systems Research Institute; 2014.
- Proactive Roles of Medical Technologists in Health Promotion-PMAC2014 [cited 2016 Jan]. Available from: https://www.youtube.com/watch?v=RY8oaltJ-4s
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม
ผศ.ดร. ยุทธนา เพ็งแจ่ม
อาจารย์ประจำคณะเทคนิคการแพทย์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Email yutthana.p@psu.ac.th
Mobile 090-967-1352