โลหิตจาง
ภาวะเลือดจาง ปัญหาสุขภาพที่ยังคงอยู่
ภาวะเลือดจาง คือภาวะที่ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงหรือความเข้มข้นของฮีโมโกลบินลดลงกว่าปกติ (ฮีโมโกลบิน คือสารสีแดงในเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ขนส่งก๊าซออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย)ในภาวะปกติ เพศชาย(ยกเว้นวัยเด็ก)จะมีความเข้มข้นของฮีโมโกลบินมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย และมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุด้วย หากร่างกายมีภาวะเลือดจางจะทำให้มีอาการอ่อนเพลีย วิงเวียน มึนงง ปวดศีรษะ หน้ามืด เหนื่อยง่าย หายใจเข้าออกเป็นช่วงสั้นๆและถี่ กระสับกระส่าย และไม่มีสมาธิ เป็นต้น แต่จะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในกรณีที่เกิดภาวะนี้ในเด็กและหญิงตั้งครรภ์ เพราะอาจทำให้ถึงแก่ชีวิต หรือบกพร่องทางสติปัญญาตั้งแต่เป็นทารกได้ ภาวะเลือดจางพบได้บ่อยในวัยเด็ก ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ผู้หญิงตั้งครรภ์ และผู้สูงอายุ แต่อย่างไรก็ตามภาวะนี้สามารถพบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชายในทุกช่วงอายุ สาเหตุภาวะเลือดจาง ได้แก่ ขาดธาตุเหล็ก (ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบในการสร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง) ขาดวิตามินบี 12 ติดพยาธิ ธาลัสซีเมีย (ความผิดปกติทางพันธุ์กรรมของเม็ดเลือดแดง) G-6-PD (ความผิดปกติทางพันธุกรรมทำให้พร่องเอนไซม์ในเม็ดเลือดแดง) สูญเสียเลือดเรื้อรังหรือเฉียบพลัน และอื่นๆ จากการรายงานภาวะเลือดจางตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน พบว่าภาวะนี้ยังคงมีอยู่ในประชากรหลายพื้นที่ทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกำลังพัฒนา หนึ่งในนั้นคือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เล็งเห็นว่าภาวะเลือดจางเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญต่อมวลมนุษย์โลก โดยทั่วไปเชื่อกันว่าสาเหตุหลักของภาวะนี้เนื่องจากภาวะขาดธาตุเหล็กเพราะบริโภคไม่เพียงพอ แหล่งอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก ได้แก่ เนื้อสัตว์ ตับ ไข่ ผัก และธัญญาหาร แต่ธาตุเหล็กที่ได้จากพืชผักจะถูกดูดซึมได้ยากไม่เหมือนธาตุเหล็กที่ได้จากสัตว์ เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการรายงานภาวะเลือดจางในหญิงตั้งครรภ์บริเวณตอนกลางของประเทศเวียดนามพบว่ากลุ่มใหญ่ที่มีภาวะเลือดจางไม่ได้เกี่ยวข้องกับภาวะขาดธาตุเหล็กและธาลัสซีเมีย แต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยกลับพบว่ากลุ่มเด็กวัยรุ่นมีภาวะเลือดจางเนื่องจากเป็นพาหะหรือโรคธาลัสซีเมีย ประเทศไทยมีความชุกของธาลัสซีเมียแต่ละชนิดแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความชุกของธาลัสซีเมียสูงกว่าภูมิภาคอื่นของประเทศ ดังนั้นการลดปัญหาภาวะเลือดจางควรเริ่มต้นจากการทราบสาเหตุที่แท้จริงในแต่ละพื้นที่แล้วนำไปสู่การรักษาและดูแลที่เหมาะสม เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงของประชากรในอนาคต
ภาวะเลือดจาง ปัญหาสุขภาพที่ยังคงอยู่
ภาวะเลือดจาง คือภาวะที่ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงหรือความเข้มข้นของฮีโมโกลบินลดลงกว่าปกติ (ฮีโมโกลบิน คือสารสีแดงในเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ขนส่งก๊าซออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย)ในภาวะปกติ เพศชาย(ยกเว้นวัยเด็ก)จะมีความเข้มข้นของฮีโมโกลบินมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย และมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุด้วย หากร่างกายมีภาวะเลือดจางจะทำให้มีอาการอ่อนเพลีย วิงเวียน มึนงง ปวดศีรษะ หน้ามืด เหนื่อยง่าย หายใจเข้าออกเป็นช่วงสั้นๆและถี่ กระสับกระส่าย และไม่มีสมาธิ เป็นต้น แต่จะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในกรณีที่เกิดภาวะนี้ในเด็กและหญิงตั้งครรภ์ เพราะอาจทำให้ถึงแก่ชีวิต หรือบกพร่องทางสติปัญญาตั้งแต่เป็นทารกได้ ภาวะเลือดจางพบได้บ่อยในวัยเด็ก ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ผู้หญิงตั้งครรภ์ และผู้สูงอายุ แต่อย่างไรก็ตามภาวะนี้สามารถพบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชายในทุกช่วงอายุ สาเหตุภาวะเลือดจาง ได้แก่ ขาดธาตุเหล็ก (ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบในการสร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง) ขาดวิตามินบี 12 ติดพยาธิ ธาลัสซีเมีย (ความผิดปกติทางพันธุ์กรรมของเม็ดเลือดแดง) G-6-PD (ความผิดปกติทางพันธุกรรมทำให้พร่องเอนไซม์ในเม็ดเลือดแดง) สูญเสียเลือดเรื้อรังหรือเฉียบพลัน และอื่นๆ จากการรายงานภาวะเลือดจางตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน พบว่าภาวะนี้ยังคงมีอยู่ในประชากรหลายพื้นที่ทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกำลังพัฒนา หนึ่งในนั้นคือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เล็งเห็นว่าภาวะเลือดจางเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญต่อมวลมนุษย์โลก โดยทั่วไปเชื่อกันว่าสาเหตุหลักของภาวะนี้เนื่องจากภาวะขาดธาตุเหล็กเพราะบริโภคไม่เพียงพอ แหล่งอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก ได้แก่ เนื้อสัตว์ ตับ ไข่ ผัก และธัญญาหาร แต่ธาตุเหล็กที่ได้จากพืชผักจะถูกดูดซึมได้ยากไม่เหมือนธาตุเหล็กที่ได้จากสัตว์ เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการรายงานภาวะเลือดจางในหญิงตั้งครรภ์บริเวณตอนกลางของประเทศเวียดนามพบว่ากลุ่มใหญ่ที่มีภาวะเลือดจางไม่ได้เกี่ยวข้องกับภาวะขาดธาตุเหล็กและธาลัสซีเมีย แต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยกลับพบว่ากลุ่มเด็กวัยรุ่นมีภาวะเลือดจางเนื่องจากเป็นพาหะหรือโรคธาลัสซีเมีย ประเทศไทยมีความชุกของธาลัสซีเมียแต่ละชนิดแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความชุกของธาลัสซีเมียสูงกว่าภูมิภาคอื่นของประเทศ ดังนั้นการลดปัญหาภาวะเลือดจางควรเริ่มต้นจากการทราบสาเหตุที่แท้จริงในแต่ละพื้นที่แล้วนำไปสู่การรักษาและดูแลที่เหมาะสม เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงของประชากรในอนาคต
เอกสารอ้างอิง
- Siridamrongvattana S. Hoa NV, Sanchaisuriya K. Dung N, Hoa PT, Sanchaisuriya P, Fucharoen G, Fucharoen S, Schelp FP. Burden of anemia in relation to thalassemia and iron deficiency among Vietnamese pregnant women. ActaHaematol 2013; 130:281-7.
- Panomai N, Sanchaisuriya K, Yamsri S, Sanchaisuriya P, Fucharoen G, Fucharoen S, et al. Thalassemia and iron deficiency in a group of northeast Thai school children: relationship to the occurrence of anemia. Eur J Pediatr 2010; 169:1317-22.
- Siridamrongvattana S. Hoa NV, Sanchaisuriya K. Dung N, Hoa PT, Sanchaisuriya P, Fucharoen G, Fucharoen S, Schelp FP. Burden of anemia in relation to thalassemia and iron deficiency among Vietnamese pregnant women. ActaHaematol 2013; 130:281-7.
- Panomai N, Sanchaisuriya K, Yamsri S, Sanchaisuriya P, Fucharoen G, Fucharoen S, et al. Thalassemia and iron deficiency in a group of northeast Thai school children: relationship to the occurrence of anemia. Eur J Pediatr 2010; 169:1317-22.